เริ่มแล้ว! โครงการ 'ไข่แลกยาเก่า' สธ.หวังคนไทยใช้ยาลดลง
สธ.ผุดโครงการ "ไข่แลกยาเก่า" เริ่ม ก.ค. 55 อัดฉีดงบจังหวัดละ 100,000 บาท หวังส่งเสริมให้ประชาชนใช้ยาลดลง หลังพบข้อมูลคนไทยใช้ยาเฉลี่ยปีละ 100,000 ล้านบาท...
เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 55 นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข เปิดเผยความคืบหน้าของโครงการไข่แลกยาเก่าว่า ขณะนี้มีความคืบหน้า โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดประชุมเจ้าหน้าที่ และได้จัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในโครงการนี้จังหวัดละ 100,000 บาท โดยได้ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกสำรวจตามบ้านต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจ และจะเริ่มเปิดรับแลกยาในวันที่ 2–5 ก.ค. 2555 พร้อมกันที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลศูนย์ทั่วประเทศ รวมกว่า 10,000 แห่ง
นายวิทยา กล่าวว่า ยาเก่าที่จะแลกไข่ครั้งนี้ ประชาชนสามารถนำยาแผนปัจจุบันทุกชนิด ทั้งชนิดที่ซื้อเอง หรือได้รับจากสถานพยาบาลต่างๆ ทั้งรัฐหรือเอกชน ไม่รวมยาสมุนไพร โดยจะแจกไข่คืนแก่บ้านที่นำยาเก่าไปแลก ให้ครอบครัวละ 5 ฟองเป็นอย่างน้อย ทำอาหารได้ 1-2 มื้อ ไข่ที่แลกขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของพื้นที่ บางแห่งอาจเป็นไข่ไก่ ไข่เป็ด หรือไข่เค็ม หากไม่มีไข่ อาจจะเป็นมะนาวก็ได้ วัตถุประสงค์หลักของโครงการไข่แลกยาเก่านี้ เพื่อรณรงค์ประชาชนให้มีความตระหนักในการใช้ยา และใช้ยาให้เกิดประสิทธิภาพต่อการรักษาอาการเจ็บป่วย
ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุดคนไทยพบใช้ยาเฉลี่ยปีละ 100,000 ล้านบาท ซึ่งโครงการนี้จะทำให้ทราบถึงขนาดปัญหาการใช้ยาของคนไทย ว่ามียาเหลือใช้ตกค้างตามบ้านเรือนจำนวนเท่าใด และวิธีการเก็บรักษา โดยมอบหมายให้ นพ.นิทัศน์ รายยวา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบบริหารจัดการ และจะประเมินผลกลางเดือน ก.ค. 2555
ด้าน นพ.นิทัศน์ รายยวา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ยาเก่าที่รับคืนทั้งหมด จะให้เภสัชกรของโรงพยาบาลต่างๆ เป็นผู้วิเคราะห์ คัดแยก โดยยาเก่าที่หมดอายุแล้วจะรวบรวมส่งไปที่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลาย และขั้นต่อไปในปีหน้ากระทรวงสาธารณสุขจะปรับระบบบริหารจัดการยาให้มีประสิทธิภาพขึ้น โดยรณรงค์ให้ประชาชนใช้ยาดีและมีคุณภาพตามนโยบายรัฐบาล โดยให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้ความรู้เรื่องยาและปรับแก้พฤติกรรมการกินยาของประชาชน มีระบบการปรึกษาปัญหาการใช้ยาทั้งยาแผนปัจจุบันและเพิ่มการให้ความรู้ยาสมุนไพร ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขซึ่งเป็นหมอประจำครอบครัว ดูแลคนละ 300 ครัวเรือน ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขฯ (อสม.) ติดตามดูแลเรื่องการใช้ยาเหล่านี้ด้วยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้เพิ่มความคุ้มค่าการใช้ยายิ่งขึ้น
รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวอีกว่า สาเหตุที่มียาเก่าเหลือตกค้างตามบ้านเรือนมาจากหลายสาเหตุ ได้แก่ 1. การซื้อยากินเอง กินแล้วอาการไม่หาย 2. นำยาของคนอื่นที่ที่มีอาการป่วยคล้ายกันมาใช้แทน 3. เก็บยาไม่ถูกต้อง ทำให้ยาเสื่อมสภาพ 4. ประชาชนไม่ดูวันหมดอายุยา 5. ลืมกินยา 6. รักษาหลายโรงพยาบาลทำให้รับยาหลายขนานซ้ำซ้อน และ 7. ประชาชนพึ่งยามากกว่าพึ่งตนเอง เพราะเชื่อว่าหากป่วยแล้วมียารักษา.
เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 55 นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข เปิดเผยความคืบหน้าของโครงการไข่แลกยาเก่าว่า ขณะนี้มีความคืบหน้า โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดประชุมเจ้าหน้าที่ และได้จัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในโครงการนี้จังหวัดละ 100,000 บาท โดยได้ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกสำรวจตามบ้านต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจ และจะเริ่มเปิดรับแลกยาในวันที่ 2–5 ก.ค. 2555 พร้อมกันที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลศูนย์ทั่วประเทศ รวมกว่า 10,000 แห่ง
นายวิทยา กล่าวว่า ยาเก่าที่จะแลกไข่ครั้งนี้ ประชาชนสามารถนำยาแผนปัจจุบันทุกชนิด ทั้งชนิดที่ซื้อเอง หรือได้รับจากสถานพยาบาลต่างๆ ทั้งรัฐหรือเอกชน ไม่รวมยาสมุนไพร โดยจะแจกไข่คืนแก่บ้านที่นำยาเก่าไปแลก ให้ครอบครัวละ 5 ฟองเป็นอย่างน้อย ทำอาหารได้ 1-2 มื้อ ไข่ที่แลกขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของพื้นที่ บางแห่งอาจเป็นไข่ไก่ ไข่เป็ด หรือไข่เค็ม หากไม่มีไข่ อาจจะเป็นมะนาวก็ได้ วัตถุประสงค์หลักของโครงการไข่แลกยาเก่านี้ เพื่อรณรงค์ประชาชนให้มีความตระหนักในการใช้ยา และใช้ยาให้เกิดประสิทธิภาพต่อการรักษาอาการเจ็บป่วย
ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุดคนไทยพบใช้ยาเฉลี่ยปีละ 100,000 ล้านบาท ซึ่งโครงการนี้จะทำให้ทราบถึงขนาดปัญหาการใช้ยาของคนไทย ว่ามียาเหลือใช้ตกค้างตามบ้านเรือนจำนวนเท่าใด และวิธีการเก็บรักษา โดยมอบหมายให้ นพ.นิทัศน์ รายยวา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบบริหารจัดการ และจะประเมินผลกลางเดือน ก.ค. 2555
ด้าน นพ.นิทัศน์ รายยวา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ยาเก่าที่รับคืนทั้งหมด จะให้เภสัชกรของโรงพยาบาลต่างๆ เป็นผู้วิเคราะห์ คัดแยก โดยยาเก่าที่หมดอายุแล้วจะรวบรวมส่งไปที่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลาย และขั้นต่อไปในปีหน้ากระทรวงสาธารณสุขจะปรับระบบบริหารจัดการยาให้มีประสิทธิภาพขึ้น โดยรณรงค์ให้ประชาชนใช้ยาดีและมีคุณภาพตามนโยบายรัฐบาล โดยให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้ความรู้เรื่องยาและปรับแก้พฤติกรรมการกินยาของประชาชน มีระบบการปรึกษาปัญหาการใช้ยาทั้งยาแผนปัจจุบันและเพิ่มการให้ความรู้ยาสมุนไพร ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขซึ่งเป็นหมอประจำครอบครัว ดูแลคนละ 300 ครัวเรือน ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขฯ (อสม.) ติดตามดูแลเรื่องการใช้ยาเหล่านี้ด้วยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้เพิ่มความคุ้มค่าการใช้ยายิ่งขึ้น
รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวอีกว่า สาเหตุที่มียาเก่าเหลือตกค้างตามบ้านเรือนมาจากหลายสาเหตุ ได้แก่ 1. การซื้อยากินเอง กินแล้วอาการไม่หาย 2. นำยาของคนอื่นที่ที่มีอาการป่วยคล้ายกันมาใช้แทน 3. เก็บยาไม่ถูกต้อง ทำให้ยาเสื่อมสภาพ 4. ประชาชนไม่ดูวันหมดอายุยา 5. ลืมกินยา 6. รักษาหลายโรงพยาบาลทำให้รับยาหลายขนานซ้ำซ้อน และ 7. ประชาชนพึ่งยามากกว่าพึ่งตนเอง เพราะเชื่อว่าหากป่วยแล้วมียารักษา.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น